1.วัตถุดิบในการทำก๋วยเตี๋ยว (คัดสรรแต่วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี)
ส่วนผสม น้ำซุป
• น้ำเปล่า (ถ้าใช้น้ำมากขึ้น สัดส่วนของเครื่องปรุงและส่วนผสมต่าง ๆ ก็ต้องคูณเพิ่มไปด้วยเช่นกัน)
• เครื่องตุ๋นหมูน้ำข้น (ล้างน้ำให้สะอาดก่อนนำไปต้ม)
• ลูกกระวานไทย
• ใบกระวาน
• เกลือป่น
• กระดูกเอียวเล้ง
• กระเทียมดอง
• น้ำกระเทียมดอง
• รากขึ้นฉ่าย
• ข่าแก่
• ซีอิ๊วขาว (สูตร 1)
• ซอสปรุงรสฝาเขียว
• น้ำตาลมะพร้าว
• ซีอิ๊วดำ
• เต้าหู้ยี้โขลกละเอียด
• ใบเตย
• เลือดหมูสด
• ใบตะไคร้
ส่วนผสม หมูหมัก
• เนื้อสะโพกหมูหั่นสไลซ์เป็นชิ้นบาง
• ไข่แดง
• แป้งข้าวโพด
• น้ำตาลทราย
• ซีอิ๊วขาว
• ซอสปรุงรส
ส่วนผสม เครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยว
• เส้นก๋วยเตี๋ยว (ตามชอบ)
• ถั่วงอกดิบและลวกสุก
• พริกไทยป่น
• ขึ้นฉ่ายซอย
• ผักชีฝรั่งซอย
• หมูหมัก
• ลูกชิ้นหมูอย่างดี
• ตับหมูหั่นบาง ๆ
• น้ำซุป
• กากหมูเจียว หรือ แคบหมูเจียว
• กระเทียมเจียว
• ใบโหระพา
1.1 ภาระกิจ
เรามีการปรับปรุงแต่งเติมร้าน และหาเมนูของหวานเพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้าอยู่ตลอดเวลา
2.โครงสร้างธุรกิจ
กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเองทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไร ก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่า ธุรกิจ ประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทำไร่ การทำนา เป็นต้น
ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว
1. มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
2. เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการ ไม่เพียงพอ ชำระหนี้
3. เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
4. การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว
ข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
3.วิเคราะห์ SWOT ของธุระกิจ
จุดแข็ง
1. จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย
2. มีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว
ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการดำเนินงาน
3. ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว
4. รักษาความลับของกิจการได้ดี เพราะผู้รู้มีเพียงคนเดียว
5. มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
6. การเลิกกิจการทำได้ง่าย
7.ราคาถูก และอร่อย
8.มีเมนูที่หลากหลาย
9.สินค้าดีมีคุณภาพ วัตถุดิบสดไหม่
10.บรรยากาศในร้านร่มรื่น
จุดอ่อน
1.แพคเกตไม่โดดเด่น
2.การแต่งร้านดูโบราณไม่ทันสมัย
3.มีพนักงานน้อยดูแลไม่ทั่วถึง
4.วัตถุดิบบางวันอาจมีไม่ครบ
โอกาศ
1.เป็นที่นิยมของเด็กๆ เพราะราคาถูก
2.สามารถรัปประทานได้ทุกเพศทุกวัย
3.ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำประชากรแสวงหาสินค้าที่มีราคาถูก
อุปสรรค
1.ร้านค้าตั้งอยู่ไกลตัวเมืองยากต่อการเข้าถึง
2.พื้นที่ขายน้อยอาจบรรจุลูกค้าได้ไม่มาก
3.บริการตัวเองในเรื่องน้ำผัก เพราะมีพนักงานแค่สองคน
4.กลยุทธ์และทางเลือก
1. ผู้ที่ผลิตอาหารต้องคำนึงถึงความสะอาด ความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญที่สุด สำคัญมากกว่าเรื่องอื่นๆทุกเรื่อง ยิ่งในสมัยนี้ ร้านอาหาร หรือ กลุ่มโรงแรมใหญ่ๆ เวลาที่จะเลือกซื้อวัตถุดิบอาหาร ก็จะเลือกจะผู้ผลิตที่มีมาตรฐานระดับสูงเท่านั้น และยิ่งสมัยนี้มีเรื่องของเทคโนโลยีที่สามารถส่งต่อข่าวสารกันอย่างรวดเร็ว หากผู้ผลิตไหนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยแล้วล่ะก็ ปัญหาตามมานับไม่ถ้วนแน่ๆครับ
2. รสชาติความอร่อย ต้องเป็นที่โดดเด่น ขึ้นชื่อว่าอาหารแล้ว ความอร่อยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอาหารประเภทใด ความอร่อยต้องไม่เป็นสองรองใคร อย่าคิดแค่ว่าจะทำง่ายๆ ทำๆไปแล้ว เดี๋ยวไปเน้น การสร้างแบรนด์ การทำโฆษณา โปรโมชั่น หรือ ลดราคา อย่างอื่นพอจะช่วยได้ แต่ไม่ยั่งยืนแน่นอนครับ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร ต้องอร่อยเท่านั้น
3. ช่องทางการขาย ธุรกิจอาหารนั้นไม่ค่อยซับซ้อนเท่าไหร่ครับ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ขายผ่านช่องทาง Modern trade หรือ ช่องทางค้าปลีกต่างๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือ ห้างค้าส่งอย่าง Makro ส่วนอีกกลุ่มนั้น ในวงการอาหารจะเรียกกันว่าเป็นกลุ่ม Horeca ก็คือ Hotel, Restaurant และ Catering กลุ่มนี้ ถือว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากๆ ครับ เราเรียกอีกอย่างกันว่าช่องทาง foodservice และ กลุ่มสุดท้าย เป็นกลุ่มโรงงานผู้ผลิตอาหารที่มีความต้องการที่จะซื้อวัตถุดิบเพื่อไปผลิตเป็นสินค้าอาหารต่างๆ กลุ่มนี้เหมาะสำหรับคนที่จะขายพวกวัตถุดิบหรือเครื่องปรุงต่างๆครับ ซึ่งวิธีการในการทำการตลาดและการขายกับช่องทางต่างๆนั้นก็แตกต่างกันไป ไว้ในโอกาสหน้าจะมาอธิบายในรายละเอียดให้ทราบนะครับ
4. โครงสร้างราคา ต้นทุน ธุรกิจอาหารนั้นมีโครงสร้างต้นทุนที่อาจจะไม่เหมือนกับธุรกิจอื่นๆสักเท่าไหร่ แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ก็จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสินค้า แต่ต้นทุนของสินค้าส่วนใหญ่มักจะมาจากวัตถุดิบที่จะมีต้นทุนประมาณ 50-80% และถ้าหากเป็นธุรกิจร้านอาหารนั้น ต้นทุนอาหารจะเป็นแค่ 20-30% ของราคาที่ร้านซื้อๆกันตามร้านอาหารนะครับ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆก็จะเป็นพวกค่าบริหารร้าน ค่าเช่าที่. ดังนั้นหากใครจะมาทำธุรกิจอาหารโดยที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน ต้องศึกษาเรื่องต้นทุนให้ดีนะครับ ไม่เช่นนั้นพอทำธุรกิจไปสักพักอาจจะพบว่า ทำไมไม่มีกำไรซะที
5. การจัดเก็บและการขนส่ง สำหรับธุรกิจอาหารนั้นเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสินค้าอาหารที่มี Shelf life สั้น เช่นของสด หรือ สินค้าที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิแช่เย็น และ แช่แข็ง การจัดเก็บและการขนส่งจะมีผลต่อคุณภาพสินค้าเป็นอย่างมาก การลงทุนและค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จึงสูงขึ้นตามตัวเช่นกัน
6. การบริการ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่ง หากเป็นร้านอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น บริการย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนย่อมรู้อยู่แล้ว แต่ในส่วนของการบริการในแง่ของผู้ผลิตอาหารอื่นๆ หมายถึง การบริการที่มีต่อผู้บริโภค เช่น การมีบริการลูกค้าสัมพันธ์ และ การบริการที่มีต่อคู่ค้า เช่น การช่วยพัฒนาสินค้า, การช่วยลูกค้าวางแผนการสั่งซื้อ, การส่งสินค้าที่ถูกต้องและตรงเวลา, การจัดส่งหรือการรับออร์เดอร์ที่มีบริการอย่างยืดหยุ่น
7. แบรนด์หรือตราสินค้านั้น จำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ แต่การสร้างแบรนด์ในส่วนของธุรกิจอาหารนั้น ขึ้นอยู่กับช่องทางการจัดจำหน่ายและกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายหลัก หากกลุ่มลูกค้าหลักของคุณเป็นกลุ่มโรงงาน หรือ กลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีการทำโฆษณาเพื่อสร้างแบรนด์เหมือนกับสินค้าConsumer Product ซึ่งจริงๆแล้วการสร้าง แบรนด์นั้น ไม่ได้แค่หมายถึงการทำเฉพาะโฆษณา หรือ การทำโลโก้สวยๆ การสร้างแบรนด์นั้นควรจะมากจากการสร้างตัวตนของธุรกิจคุณให้ดีที่สุด โดยเน้นมาจากสิ่งหลักๆที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจที่กล่าวมาแล้วด้านบน เช่น เน้นในด้านความสะอาด ปลอดภัย อร่อย และ การบริการ เมื่อคู่ค้าและลูกค้าของคุณเห็นในสิ่งที่คุณเป็นจริงๆแล้วนั้น นั้นแหล่ะจะเป็นการสร้างแบรนด์ของคุณอย่างถาวร ที่ไม่ใช่การสร้างภาพแบบที่หลายๆบริษัททำอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องหลักๆสำหรับการทำธุรกิจอาหาร และ การวางกลยุทธ์ในด้านต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจอาหารของคุณสามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง และ อยู่รอดในตลาดได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์สำหรับแต่ละธุรกิจย่อย ก็ย่อมจะให้ความสำคัญในแต่ละเรื่องแตกต่างกันออกไปเช่น ร้านอาหาร, ร้านเครื่องดื่ม ก็อาจจะต้องมีเรื่องของ Location เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือ อาหารแช่เย็น แช่แข็ง ก็จะเน้นในเรื่องการจัดเก็บและการจัดส่งที่ต้องรักษาอุณหภูมิเพื่อควบคุมคุณภาพ ซึ่งในโอกาสต่อๆไปผมจะมาเขียนเล่าให้ฟังในรายละเอียดของแต่ละธุรกิจอีกครั้งครับ
5.วัตถุประสงค์
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของทุกเพศทุกวัย
เพื่อให้เปิดร้านได้ออกมาดีและมีประสิทธฺภาพ
เพื่อให้ประชากรในพื้นที่จดจำร้านได้อย่างดี
เพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการและตามแผนที่วางไว้
6.นโยบาย
อร่อยถูกปาก ราคาถูกใจ
7.แผนกลยุทธ์
แผนธุรกิจของร้านก๋วยเตี๋ยว ซึ่งประกอบกิจการร้านก๋วยเตี๋ยวหมู เนื้อ ไก่
ภายใต้ชื่อร้าน "เตี๋ยวซาวบาทอร่อยถูกปากราคาถูกใจ"
“มุ่งพัฒนาและจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวที่มีคุณภาพดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกุมภวาปี
กลยุทธ์ของร้านก๋วยเตี๋ยว จะมีลักษณะเป็นการจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวที่มี
ราคาเหมาะสม โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่เป็นกลุ่มคนทำงานที่ประกอบอาชีพรับราชการ รัฐวิสาหกิจและพนักงาน เอกชน รวมทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา โดยมีอายุตั้งแต่ 15 ปี – 55 ปีซึ่งแผนธุรกิจที่จัดทำประกอบด้วยแผนการตลาด แผนการผลิต แผนการจัดองค์กรและการจัดการ และแผนการเงิน คุณภาพอาหารที่ดีตรงตามความพึงพอใจของลูกค้า ทางด้านสถานที่ จะเน้นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้า
เป้าหมายเป็นจำนวนมาก สะดวกในการเดินทาง และมีภาพลักษณ์ของร้านที่จดจำได้ของลูกค้า ทางด้านราคา จะเน้นให้ราคาก๋วยเตี๋ยวของร้านสามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งและผลิตภัณฑ์ทดแทน และทางด้านการส่งเสริมการขายจะเน้นการทำกิจกรรมตั้งแต่วันเปิดร้าน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และทำให้ ลูกค้ารู้จักและเข้าร้านสาขา ทำการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค้าจดจำร้านได้อยู่เสมอ
แผนการผลิต จะเน้นประสิทธิภาพทั้งในด้านอาหารและบริการของร้าน เพื่อให้มีต้นทุน
การดำเนินงานที่ต่ำที่สุดในขณะที่มีบริการที่ดีที่สุด เพื่อเป็นการเสนอมูลค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทั้งทางด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ